ใยแก้ว เป็นวัสดุที่เป็นประโยชน์ในหลายอุตสาหกรรม รวมไปถึงวัสดุสำหรับงานก่อสร้างด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ใกล้ตัวเรามากๆ หลายคนอาจจะคิดว่าใยแก้วมีความอันตราย และอาจก่อให้เกิดโรคร้ายได้ ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนเข้าใจผิด และไม่กล้าที่จะติดตั้งกันสาดด้วยวัสดุชนิดนี้ ในบทความนี้ มินิ โกลด์ จะอธิบายให้เข้าใจกันว่า ใยแก้ว ไม่ได้เป็นอันตรายอย่างที่คิด
ใยแก้ว เป็นวัสดุที่ผลิตจากซิลิกาเป็นวัตถุติบจากแก้ว โดยใช้กระบวนการหลอมละลายและขึ้นรูปให้เป็นเส้นใย โดยคุณสมบัติของใยแก้วมีความแข็งแรง และสามารถดูดซับเสียงและป้องกันความร้อนได้ จึงถูกนำมาใช้งานในการทำฉนวนป้องกันความร้อนซึ่งเป็นก้อนของเส้นใยเส้นเล็กๆ รวมกันเป็นก้อนฟูหนา และถูกนำมาใช้เสริมความแข็งแรงให้กับวัสดุกลุ่มโพลิเมอร์หรือเรซิ่น เมื่อรวมกันแล้วทำให้เกิดวัสดุที่มีความแข็งแรงมีความยืดหยุ่น และแสงสามารถส่งผ่านได้เราจะเรียกวัสดุนี้ว่า “ไฟเบอร์กลาส (Fiberglass)” นิยมนำมาผลิตเป็นหลังคาโปร่งแสง
ฉนวนกันความร้อนที่ผลิตด้วยเส้นใยแก้ว
แผ่นโปร่งแสงผลิตจากเส้นใยแก้วกับเรซิ่น
รู้ถึงประโยชน์และข้อดีของใยแก้วกันมาแล้วมาดูผลกระทบต่อมนุษย์กันบ้าง ใยแก้วจะมีการหักและกลายเป็นฝุ่นผง แต่เป็นฝุ่นผงที่มีขนาดใหญ่ที่ร่างกายสามารถกำจัดออกได้ ไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์และไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง
โดยองค์การวิจัยโรคมะเร็งนานาชาติ (IARC : International Agency for Research on Cancer) ได้แบ่งกลุ่มสารก่อมะเร็งไว้ 5 กลุ่ม ดังนี้
กลุ่ม 1 – ยืนยันว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (Carcinogenic to humans)
กลุ่ม2A – น่าจะเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (Probably carcinogenic to humans)
กลุ่ม2B – อาจจะเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (Possibly carcinogenic to humans
กลุ่ม3 – ไม่จัดว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (Not classifiable as to its carcinogenicity to humans)
กลุ่ม4 – น่าจะไม่เป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (Probably not carcinogenic to humans)
การจำแนกสารก่อมะเร็งของ IARC
https://monographs.iarc.fr/list-of-classifications-volumes/
โดยเราอ้างอิงจาก Insulation glass wool หรือ ฉนวนใยแก้ว ซึ่งอยู่ในกลุ่มที่ 3 ไม่จัดว่าเป็นสารก่อมะเร็งในมนุษย์ (Not Classifiable as a Human Carcinogen) เป็นการยึนยันได้อย่างชัดเจนว่าปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดมะเร็งต่อมนุษย์อย่างแน่นอน
Insulation glass wool หรือฉนวนใยแก้วจัดอยู่ใน Group 3
https://monographs.iarc.fr/list-of-classifications-volumes/
แต่ทั้งนี้ในการทำงานกับใยแก้วก็ควรจะต้องระวังเพราะมีโอกาสที่จะระคายเคืองต่อผิวหนัง ควรใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดและใส่ผ้าปิดจมูก ควรเลี่ยงการสัมผัสใยแก้วโดยตรง