ช่วงนี้เป็นช่วงใกล้ฤดูฝนแล้ว เราต้องเตรียมตัวกันซักหน่อยเพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับหน้าฝน นอกจากฝนจะเป็นตัวช่วยลดความร้อนได้แล้ว ยังทำให้เรารู้สึกเย็นสบายขึ้นด้วย หรือใครเป็นคนที่ไม่ชอบรดน้ำต้นไม้ก็ยิ่งชอบหน้าฝนแน่ๆเพราะไม่ต้องเสียเวลารดน้ำต้นอีก 

แต่ช่วงฤดูฝนนี้เองจะเป็นช่วงที่บ้านมักจะโทรมลงอย่างรวดเร็วและเห็นได้ชัด หากมีจุดไหนของบ้านที่มีความเสียหายอยู่แล้วเมื่อเจอฝนหนักก็มันจะเสียหายหนักขึ้น เราจึงต้องเตรียมตัวป้องกันก่อนจะถึงหน้าฝนดีกว่าที่จะต้องมาแก้ไข มินิ โกลด์ เลยนำวิธีการดูแลบ้านก่อนถึงหน้าฝนมาแนะนำกันค่ะ

7 tips not to care for the rainy house

1. ขัดพื้นทำความสะอาด ตะไคร่ คราบสกปรกต่าง ๆ รอบบ้าน ป้องกันการลื่นล้ม

สำหรับบริเวณบ้านที่ไม่มีกันสาด หรือชายคารอบ ๆ บ้านอาจพบกับปัญหา ความชื้นสะสมจนเกิดตะไคร่ ซึ่งหากไม่ทำความสะอาดหรือกำจัดออกอาจเป็นสาเหตุในการลื่นล้ม และเกิดอันตรายต่อคนที่อาศัยในบ้านได้ โดยเฉพาะบ้านที่มีเด็กและผู้สูงอายุอาศัยอยู่ การกำจัดตะไครน้ำจึงควรทำเป็นสิ่งแรก วิธีการง่าย ๆ เพียงใช้แปรงเหล็ก หรือแปรงทองเหลืองขัดก็สามารถทำความสะอาดได้แล้ว หรือใครที่มีเครื่องแรงดันน้ำจะใช้ฉีดก็ออกได้อย่างง่ายดายไม่เปลืองแรงขัด

7 tips not to care for the rainy house

2. ตรวจเช็ครอยรั่วซึมของหลังคา ดาดฟ้า และรอยแตกตามผนังป้องกันการซึมของน้ำ

 ควรตรวจสอบรอยร้าว และตรวจเช็คผนังรอบบ้าน ทั้งภายนอกและภายบ้าน หากพบว่ามีรอยแตกร้าว มีคราบน้ำอยู่บริเวณฝ้า เพดาน ควรทำความสะอาดบริเวณรอยแตกและปิดรอยรั่วด้วย ซิลิโคนยาแนว หรือ โมดิฟาย ซิลิโคน  หรือติดต่อให้ช่างมาทำการซ่อมแซมให้เร็วที่สุด อย่าปล่อยให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมสะสมเพราะเป็นสาเหตุให้อาคารหรือบ้านของเราทรุดและพังได้

7 tips not to care for the rainy house

3. ตรวจเช็คทำความสะอาดรางน้ำฝนและท่อระบายน้ำให้ดี ป้องกันการอุดตัน

รางน้ำเป็นสิ่งที่หลาย ๆ คนมองข้าม ในการติดตั้งในช่วงปีแรกอาจจะไม่มีปัญหาแต่เมื่อผ่านไปหลายปีอาจจะมีสิ่งของเข้าไปอุดตันในรางน้ำหรือท่อระบายน้ำ โดยเฉพาะบ้านที่มีต้นไม้สูงกว่าหลังคาบ้าน จะเกิดปัญหาท่อรางน้ำฝนอุดดันได้ง่าย และหากรางน้ำนั้นเป็นโลหะเมื่อมีน้ำขังเป็นเวลานาน อาจเกิดการผุของรางน้ำได้

7 tips not to care for the rainy house

4. ขนย้ายเฟอร์นิเจอร์ที่ไม่สามารถโดนฝนได้เข้าในที่ร่ม

บ้านที่มีเฟอร์นิเจอร์เป็นไม้ หรือไม้อัด รวมไปถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ ที่อยู่นอกบ้านควรขนย้ายเข้าบ้านเพื่อป้องกันความเสียหาย

7 tips not to care for the rainy house

5. ตัดแต่งกิ่งไม้ ป้องกันการหักโค่นทับบ้านหรือสายไฟ

การตัดกิ่งไม้ก็เป็นเรื่องสำคัญ ถ้าบ้านของเรามีต้นไม้ขนาดใหญ่ควรตัดกิ่งที่ดูไม่แข็งแรงหรือกิ่งที่มีแนวโน้มว่าถ้ามีพายุฝน ลมแรงพัดเข้ามาและมีโอกาสที่จะหักโค่นและทำอันตรายให้กับคนในบ้านได้ หากเป็นต้นไม้ที่ไม่สามารถตัดกิ่งได้ ควรทำโครงสร้างค้ำยันต้นไม้เพื่อป้องกันการหักโค่นจากลมกรรโชกแรง

7 tips not to care for the rainy house

6. ปิดภาชนะ คว่ำภาชนะหรือสิ่งของที่ทำให้เกิดน้ำขัง

เมื่อมีฝนก็ต้องมีน้ำขัง เราควรเก็บภาชนะที่สามารถเกิดน้ำขังได้หรือคว่ำภาชนะนั้น เพื่อลดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งจะนำไปสู่โรคไข้เลือดออกได้

7 tips not to care for the rainy house

7. เก็บของที่ไม่จำเป็นทิ้งเพราะอาจจะเป็นที่ซ่อนของสัตว์มีพิษ

ควรจัดเก็บสิ่งของให้เข้าที่ ไม่วางสุมกันจนเป็นที่อยู่ของเหล่าสัตว์มีพิษต่างๆ เช่น งู ตะขาบ แมงป่อง ฯลฯ สัตว์เหล่านี้มักชอบอยู่ในที่มุมมืดและชื้น โดยเฉพาะใต้สิ่งของ เช่น กระถางต้นไม้ ยางรถยนต์ กองไม้ กองใบไม้

8. ต่อเติมกันสาดป้องกันฝน

กันสาดเป็นสิ่งที่ช่วยแก้ปัญหาช่วงหน้าฝนได้เป็นอย่างดี โดยกันสาดมีหลายแบบทั้งแบบ ตั้งแต่กันสาดถาวรขนาดใหญ่ที่ต้องลงเสาเข็ม หรือจะกันสาดขนาดเล็กอย่างกันสาดหน้าต่างแบบผ้าใบ ทั้งนี้ควรเลือกให้เหมาะสมกับหน้างานและทุนทรัพย์ของแต่ละคน

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับบ้านในช่วงหน้าฝนนี้ ทุกท่านควรตรวจเช็คสภาพบ้านของเรา ให้พร้อมกับการรับมือกับฝนฟ้าคะนอง พายุต่างๆ ที่กำลังจะมาถึงกันด้วยนะคะ